ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นางสาวอรชร ธนชัยวณิชกุล เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ค่ะ

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่5

วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน จินตนา   สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556  
 ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

นำเสนองานกลุ่ม

- ความสำคัญของภาษา

- พัฒนาการสติปํญญาของเด็กอายุ2-4 ปี

- พัฒนาการสติปัญญาขอเด็ดอายุ4-6ปี

- ทฤษฎีจิตวิทยาการรเรียนรู้
- องค์ประกอบของภาษา









การจัดประสบการณ์ทางภาษา

ทักษะการใช้ภาษา


1 บอกสิ่งของที่รักและเหตุผล

เป็นการให้เหตุผลเเบบอุปนัยเนื่องจากการให้เหตุผลแบบอุปนัยเป็นการสรุปผลเกิดจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ดังนั้นการหาข้อสรุปหรือความจริงโดยใช้วิธีการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้น ไม่จำเป็นต้องถูกต้องทุกครั้ง ข้อสรุปจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล หลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างซึ่งได้แก่ จำนวนข้อมูล และ ข้อมูล

2 การโฆษณาสินค้า

     การโฆษณา มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาที่ดึงดูดความสนใจของคนอ่านคนฟัง นักโฆษณาจึงมักคิดค้นถ้อยคำ สำนวนภาษาแปลก ๆ ใหม่ ๆ นำมาโฆษณาอยู่เสมอ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนซื้อ ในขณะเดียวกันการโฆษณาต้องใช้ภาษาที่ง่าย ๆ กะทัดรัด ได้ใจความชัดเจนดี น่าสนใจ ให้ทันเหตุการณ์ รวดเร็ว มีเสียงสัมผัสคล้องจอง จดจำได้ง่ายด้วย จึงมีถ้อยคำเกิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ 
1. เรียกร้องความสนใจคือเลือกใช้ภาษาที่ง่าย สุภาพ กระตุ้นความรู้สึกของลูกค้า
2. ให้ความกระจ่างแก่ลูกค้าเป็นการใช้ภาษาที่ง่ายชัดเจนในการกล่าวถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ
3. ให้ความมั่นใจ เป็นการอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ
4. ยั่วยุให้เกิดการตัดสินใจ เป็นการใช้ถ้อยคำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการโดยเร็วที่สุด

3การประชาสัมพันธ์  หมายถึง  การสื่อสารความคิดเห็นข่าวสารข้อเท็จจริงต่างๆไปสู่กลุ่มประชาชน  เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานองค์การสถาบันกับกลุ่ม ประชาชนเป้าหมายและประชาชนที่เกี่ยวข้องเพื่อหวังผลในความร่วมมือ สนับสนุนจากประชาชนรวมทั้งมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ ที่ดีให้แก่หน่วยงาน  องค์การ  สถาบันด้วย  ทำให้ประชาชนเกิดความนิยมเลื่อมใสศรัทธาต่อหน่วยงานตลอดจนค้นหาและกำจัดแหล่งเข้าใจผิดช่วยลบล้างปัญหาเพื่อสร้างความสำเร็จในการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น



4 การเล่าข่าว 

1. การใช้ภาษาพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ 

    1.1 การใช้คำตัดสั้นหรือกร่อนคำ  ด้วยข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่  คือความกว้างยาวของคอลัมน์ข่าว  ทำให้การใช้คำพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ต้องตัดให้สั้นหรือย่นย่อลงเพื่อกระชับคำให้พิมพ์ลงในเนื้อที่ที่จำกัดได้ เช่น หนุน ใช้แทน  สนับสนุน ยัน ใช้แทน ยืนยัน มะกัน ใช้แทน สหรัฐอเมริกา  เป็นต้น
     
     1.2 การละประธานของประโยค  การพาดหัวข่าวนิยมเขียนประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา  เพื่อบอกผู้อ่านว่าเกิดอะไรขึ้น  ละประธานของประโยคในฐานะที่เข้าใจได้ โดยเฉพาะเมื่อความสำคัญของเรื่องที่เป็นข่าวไม่ได้อยู่ที่ประธานของประโยค  เพื่อให้ผู้อ่านอ่านรายละเอียด
ในความนำหรือเนื้อเรื่องของข่าวต่อไป
    
     1.3 การละเว้นคำเชื่อม คำสันธาน หรือส่วนที่ขยายประโยค นอกจากการละประธาน
ของประโยคแล้ว  พาดหัวข่าวมักจะใช้ประโยคเดี่ยวมากกว่าประโยคซ้อน  การใช้ภาษาจึงหลีกเลี่ยงคำเชื่อม  และส่วนขยายประโยคที่ไม่จำเป็น เช่น คำว่า  “อีกทั้ง”  “ซึ่ง”  “กับ”  “ต่อ”  เป็นต้น แต่ทั้งนี้ส่วนที่ละไว้ต้องไม่ทำให้ประโยคเหล่านี้มีความหมายผิดเพี้ยนไป
 
     1.4 การใช้คำสแลง คำเฉพาะสมัย หรือคำที่สร้างภาพลักษณ์เกินจริง พาดหัวข่าวต้องดึงดูดความสนใจคนอ่านร่วมสมัย ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงเป็นคำที่อยู่ในกระแสความนิยม มีสีสัน
เกินจริง คำสแลง  หรือภาษาเฉพาะสมัยในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นภาษาสนทนา หรือคำแสดงภาพพจน์ รวมทั้งสร้างคำใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ เช่น วัยจ๊าบ ซึ่งหมายถึงวัยรุ่น สาวอยากอึ๋ม ซึ่งหมายถึงผู้หญิง ที่ต้องการมีหน้าอกใหญ่ขึ้น วืด หรือ ชวด  ซึ่งหมายถึงพลาดเป้าหมายหรือไม่ได้ในสิ่งที่คาดหวังไว้ เป็นต้น
     
     1.5 การใช้ฉายาหรือชื่อเล่นของบุคคล เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสีสันให้พาดหัวข่าว
เพื่อดึงดูดความสนใจคนอ่าน ชื่อเล่นของบุคคลหรือฉายาที่ตั้งให้ใหม่นั้นมักสั้นกว่าชื่อจริง ทำให้พาดหัวข่าวกระชับและสั้นลง  สามารถพิมพ์ลงในคอลัมน์ที่มีความกว้างยาวจำกัดได้  แต่ทั้งนี้
มักเป็นชื่อเรียกหรือฉายาที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสน
    
     

2. การใช้ภาษาความนำข่าวหนังสือพิมพ์

    ลักษณะการใช้ภาษาในความนำข่าวจะแตกต่างจากพาดหัวข่าวดังนี้
    2.1 การใช้ประโยคสมบูรณ์แบบสั้น กระชับ ได้ใจความ ความนำข่าวที่ดีไม่ควรยืดยาวเกิน และไม่จำเป็นต้องเขียนรายละเอียดทั้งหมดในย่อหน้าเดียวก็ได้  แต่ควรเน้นประเด็นสำคัญ
ที่ผู้อ่านอยากรู้มากที่สุดเป็นหลัก      นอกจากนี้การใช้ประโยคสั้นกระชับ มีผลทำให้การใช้คำตัดสั้น คำย่อ หรือการกร่อนคำ ในความนำข่าวจะไม่ละประธานของประโยค คำเชื่อม หรือส่วนขยายต่าง ๆ เพราะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนบรรทัดและความกว้างยาวของคอลัมน์ ดังนั้นการเขียนความนำส่วนใหญ ่จึงมักเขียนในรูปประโยคที่สมบูรณ์
   
    2.2 การใช้คำแสดงภาพลักษณ์ และภาษาเฉพาะสมัย ความนำข่าวมีจุดประสงค์ดึงดูดความสนใจของคนอ่านให้อยากติดตามข่าวอย่างต่อเนื่องจนจบ ดังนั้นจึงใช้ภาษาแสดงภาพลักษณ์หรือให้สีสันเกินจริง ตลอดจนคำสแลงหรือภาษาเฉพาะ สมัยสอดแทรกไว้คล้ายในพาดหัวข่าว  และมักพบในข่าวเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่มีความเคลื่อนไหว มุ่งเร้าอารมณ์ผู้อ่าน เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวสงคราม เป็นต้น
   
     2.3 การใช้ฉายาหรือชื่อเล่นของบุคคล  เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน จึงมีการใช้ฉายา  หรือชื่อเล่นบุคคลที่เป็นข่าวเหมือนกับที่ใช้ในพาดหัว แต่หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ มักจะใช้ภาษาลักษณะนี้ ในความนำข่าวน้อยกว่าโดยเฉพาะข่าวหนัก อาทิ ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ หรือข่าวสิ่งแวดล้อม จะมีการใช้ฉายาหรือชื่อเล่นของบุคคลในข่าวน้อยกว่าเมื่อเทียบกับข่าวสังคม ข่าวกีฬาและข่าวบันเทิงที่เป็นข่าวเบา
 
     2.4 การใช้ภาษาสนทนา โดยทั่วไปภาษาข่าวมักเป็นภาษากึ่งทางการหรือกึ่งแบบแผน แต่อาจใช้ภาษาสนทนา หรือภาษาพูดแทนภาษาเขียน ส่วนใหญ่มักพบในความนำข่าวที่หยิบยกคำพูด ของบุคคลที่ตกเป็นข่าวมาเขียนเป็นความนำ เพื่อสะท้อนอารมณ์ของเรื่อง หรือแสดงความรู้สึก ของบุคคลที่เป็นข่าวได้
    

3. การใช้ภาษาเนื้อข่าวหนังสือพิมพ์

3.1 ลักษณะเนื้อหาข่าว แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

   3.1.1 แบบให้ข้อเท็จจริง (Fact story) ใช้ภาษาเขียนแบบอธิบายความ หรือบรรยายข้อเท็จจริงของเรื่องที่เกิดขึ้น การใช้ภาษานิยมใช้เชิงบรรยายโวหาร และกึ่งทางการ เหมาะสำหรับข่าวที่มีข้อมูลมาก เช่น รายงานผลการประชุมคณะรัฐมนตรี การประกาศนโยบายของรัฐ รายงานการวิจัยทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตัวเลขสถิติ ข้อมูล งบประมาณ ตลาดหุ้น เป็นต้น

    3.1.2 แบบแสดงการเคลื่อนไหว (Action story) เป็นการเขียนที่เหมาะกับข่าว  หรือเหตุการณ์ที่มีความเคลื่อนไหว มักใช้ภาษาเชิงพรรณนาให้เห็นภาพเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะข่าวอาชญากรรม ข่าวสงคราม การแข่งขันกีฬา เหตุอุทกภัย เพลิงไหม้ ระเบิด หรืออุบัติเหตุ  เป็นต้น

     3.1.3 แบบกล่าวอ้างคำพูด (Qoute story) เป็นการเขียนที่ใช้ภาษาสนทนามากกว่า
ภาษาเขียน เพราะเนื้อความข่าวแบบนี้อ้างอิงคำพูดของบุคคลในข่าวเป็นส่วนใหญ่ เหมาะสำหรับข่าวงานสัมมนา การสัมภาษณ์ การอภิปราย สาระของข่าวอยู่ที่คำพูดของบุคคลในข่าว

3.2 ลักษณะการใช้ภาษาในเนื้อข่าว
       การใช้ภาษาในเนื้อข่าวแม้จะคล้ายความนำข่าวมากกว่าพาดหัวข่าวแต่ก็มีความแตกต่างบางประการดังนี้
          3.2.1 ระดับภาษา เนื้อข่าวโดยทั่วไปใช้ภาษาเป็นทางการ แต่ข่าวแบบที่มีลีลาเคลื่อนไหวใช้ภาษากึ่งทางการและเขียนเชิงพรรณนามากกว่าบรรยายสอดแทรกในเนื้อเรื่องของข่าว เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจหรือเห็นภาพเหตุการณ์ได้มากขึ้น ส่วนภาษาสนทนาตลอดจนภาษาสแลง
คำเฉพาะสมัยที่ใช้ในการสนทนาระหว่างบุคคลที่คุ้นเคย จะพบในรายงานข่าวบางประเภทที่เป็นไปเพื่อความบันเทิง  และความ  เร้าใจ เช่น ข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง ข่าวสังคม เป็นต้น
      3.2.2 รูปแบบประโยค แม้เนื้อข่าวจะเป็นส่วนที่ให้รายละเอียดทั้งหมดของสิ่งที่ควรปรากฏเป็นข่าว แต่ผู้สื่อข่าวไม่ควร เขียนให้เยิ่นเย้อ มากเกินความจำเป็นจนกลายเป็นบทพรรณนา  นิยมใช้ประโยคสั้นมากกว่า ประโยคยาว หรือประโยคซ้อน ขณะเดียวกันก็ไม่นิยมใช้คำตัดสั้น คำกร่อน หรือคำย่อที่ไม่เป็นไปตามแบบแผน หากเป็นคำใหม่ก็ใช้คำเต็มและวงเล็บคำย่อตามหลังในการใช้ครั้งแรก จากนั้นก็ใช้คำย่อในการเขียนครั้งต่อไป
       3.2.3 การใช้ภาษาเชิงวิพากษ์ ข่าวเป็นการรายงานข้อเท็จจริง จึงควรหลีกเลี่ยงภาษา
เชิงวิพากษ์วิจารณ์ไม่ว่าลักษณะใด ๆ เช่น กระทบกระเทียบ ประชดประชัน เสียดสี เนื่องจากผิด คุณลักษณะข่าวที่ถูกต้อง

ที่มา http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter8-4.html


5.การเล่าจากภาพ


เป็นการถ่ายทอดความคิดในการออกแบบจากสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิดในการออกแบบนั้น




ฉันเด็กดอกไม้ที่ใต้ต้นไม่ใหญ่ไกล้บ้านของฉันแล้วเดินไปโรงเรียน














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น